12/31/2014

หารายได้ออนไลน์จากบ้านง่ายๆ กับ adf.ly

Adf.ly คืออะไร

Adf.ly เป็นเว็ปที่ให้บริการย่อลิงค์ของเรา ไม่ว่าจะเป็นลิงค์โหลดหนัง โหลดเพลง โหลดเกม หรือลิงค์ที่เชื่อมโยงไปยังเว็ปอื่น  โดยข้อดียิ่งกว่านั้นคือ ถ้ามีคนมาคลิกลิ้งที่เราย่อไว้นั้น เราจะได้เงินด้วยนั่นเอง

แล้ว Adf.ly ได้อะไร ?

ระหว่างที่มีคนมาคลิกลิงค์ที่เราย่อไว้นั้น คนที่คลิกจะต้องรอ 5 วินาที ก่อนที่จะข้ามไปหน้าที่ต้องการได้ จาก 5 วินาทีนี้ทาง Adf.ly จะติดโฆษณาคั่นระหว่างการโยงไปยังอีกหน้านั่นเอง ซึ่งรายได้ของเราก็จะมาจากจุดนี้เช่นกัน


สามารถเข้าไปสมัครได้ที่ Adf.ly

หารายได้ออนไลน์กับ Adf.ly คลิกลิงค์ก็ได้เงิน



หลังจากนั้นเราก็นำ Url ที่เราต้องการไปใส่ในช่องและกด Shrink เราก็จะได้ Url ย่อมาแล้ว เมื่อมีคนกดลิ้งที่ย่อ เราก็จะได้เงิน ซึ่งถ้าเรามีเว็ปเวลาจะลิ้งไปยังเว็ปอื่น ก็สามารถนำ Adf.ly มาช่วยในการหารายได้ได้อีกทางนั่นเอง

หารายได้ออนไลน์กับ Adf.ly คลิกลิงค์ก็ได้เงิน


นี่คือตัวอย่าง URL เมื่อทำการ Shrink แล้ว -->   http://adf.ly/17lVmt

เข้าไปสมัครได้ง่ายๆ ที่  http://adf.ly 

สมัครใช้งานฟรี ! ไม่ต้องลงทุน หารายได้ออนไลน์จากบ้านได้อีกด้วย


9/17/2014

การส่งข้อมูลด้วยสัญญาณดิจิตอล (Digital Transmission)

ก่อนที่ข้อมูลจะส่งผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้น ข้อมูลจะต้องถูกแปลงให้เป็น Analog หรือ Digital ก่อน ในบทความนี้เราจะแสดงเนื้อหาเกี่ยวกับการแปลงบิตข้อมูล ให้เป็นสัญญาณ Digital

Line Coding คือการแปลงบิตของข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบของสัญญาณดิจิตอล แบ่งออกเป็น 3 แบบ ได้แก่ Unipolar, Polar, Bipolar

Unipolar encoding เป็นวิธีการแปลงบิตข้ออมูลที่ค่อนข้างง่าย ไม่ซับซ้อน แต่ปัจจุบันไม่มีการใช้งานแบบนี้แล้ว ในการแปลงนั้น ถ้าข้อมูลเป็น 1 จะแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า มีแรงดันไฟฟ้าค่าหนึ่ง แต่ถ้าเป็น 0 คือจะไม่มีแรงดันไฟฟ้าในการส่ง

Polar encoding เป็นวิธีที่ดีกว่าแบบ unipolar เนื่องจากจะใช้แรงดันไฟฟ้า 2 ระดับในการแทนบิตข้อมูล คือมีแรงดันไฟฟ้า ค่าบวก ค่าลบ แบ่งได้ 4 วิธี 

1. Nonreturn to Zero (NRZ) มีรูปแบบการใช้งาน 2 อย่าง

    - NRZ-level วิธีการนี้ถ้าบิตมีค่าข้อมูลเป็น 0 แรงดันจะมีค่าเป็นบวก ถ้าเป็น 1 แรงดันไฟฟ้าจะมีค่าเป็นลบ
    - NRZ-invert วิธีนี้ไม่สนใจว่าลบหรือบวก จะเปลีย่นเป็นแรงดันไฟฟ้าเหมือนบิตเป็น 1 เท่านั้น ถ้าบิตเป็น 0 จะไม่มีการเปลียนแปลงใดๆ

2. Return to zero (RZ) วิธีนี้ถ้าบิตข้อมูลมีค่าเป็น 1 แรงดันไฟฟ้าจะมีค่าบวก แต่ถ้าบิตเป็น 0 จะมีค่าลบ ไม่เหมือน NRZ-L แตกต่างกันที่ทุกครั้งเมื่อต้องการจะแปลงบิตข้อมูลในแต่ละบิต หลังจากเปลี่ยนเป็นบวกหรือลบแล้ว จะต้องกลับมาเป็น 0 ก่อนเสมอ


3. Manchester 
    - ถ้าข้อมูลมีค่าเป็น 1 จะเปลี่ยนแรงดันไฟฟ้าจาก ลบ ไปบวก
    - ถ้าข้อมูลมีค่าเป็น 0 จะเปลีย่นแรงดันไฟฟ้าจาก บวกไปลบ
    


4. Differential Manchester
    - ถ้าข้อมูลมีค่าเป็น 1  ไม่ต้องเปลี่ยนสัญญาณ
    - ถ้าข้อมูลมีค่าเป็น 0 เปลี่ยนแรงดันไฟฟ้า
    - จะมีการเปลี่ยนช่วงตรงกลางของข้อมูลบิต หรือคือทุกๆครึ่งบิตจะเปลี่ยนแรงดันจากลบไปบวก หรือบวกไปลบ


ฺBipolar encoding วิธีการนี้จะใช้แรงดันไฟฟ้า 3 ระดับ คือ บวก ลบ หรือ 0

- เมื่อบิตเป็น 0 แรงดันไฟฟ้าจะ 0
- เมื่อบิตเป็น 1 แรงดันไฟฟ้าจะสลับกันระหว่างเป็นบวกหรือลบ เช่น เมื่อบิตข้อมูลเป็น 1 ครั้งแรก แรงดันจะเป็นบวก แต่บิตเป็น 1 ครั้งสองแรงดันจะลบ สลับกันไปเรื่อยๆ

Block Coding ปรับปรุงประสิทธิภาพของ line coding ให้ดีขึ้น ทำให้ความผิดพลาดจากการส่งน้อยลง โดยการเพิ่มบิตพิเศษเข้าไป เพื่อช่วยในการตรวจสอบความสอดคล้องกันในการส่งข้อมูล และตรวจความผิดพลาด แบ่ง 3 ขั้นตอน

1. การแบ่งบิตข้อมูล แบ่งข้อมูลออกเป็นย่อยๆ ตามการเข้ารหัสข้อมูล ข้อมูล แบบ 8ฺฺB/10B จะแบ่งกลุ่มละ 8 บิต
2. การแทนที่บิตข้อมูล คือขั้นตอนการเพิ่มบิตพิเศษเข้าไป เพื่อช่วยในการตรวจสอบความสอดคล้องกันในการส่งข้อมูล และตรวจความผิดพลาด แบ่ง 3 ขั้นตอน
3. Line coding คือการแปลงข้อมูลบิตเป็นสัญญาณดิจิตอล

Sampling

คือการสุ่มสัญญาณ โดยกระบวนการแซมปลิง เป็นกระบวนการในการแปลงอะนาล็อค เป็นดิจิตอล
อัตราการแซมปลิงต่ำสุดที่จะทำให้แปลงเป็นดิจิตอลได้โดยสมบูรณ์ คือ สองเท่าของความถี่สูงสุด

Pulse Amplitude Modulation (PAM) 
คือวิธีการหนึ่งที่ใช้แปลงอะนาล็อกเป็นดิจิตอล โดยจะทำการสุ่มสัญญาณตามช่วงเวลาต่างๆ โดยจะแบ่งแต่ละช่วงเวลาของการแซมปลิงให้เท่าๆกัน ผลที่ได้จากการแซมปลิงจะเป็นลักษณะลำดับของพัลส์ (Pulse) และขนาดพัลส์จะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับสัญญาณอะนาล็อก

ดังนั้น พัลส์แทนถึงอะนาล็อก
*PAM จะใช้ด้านวิศวกรรม แต่ในการสื่อสารไม่เป็นที่นิยมมากนัก
* เป็นพื้นฐานของ PCM

Pulse Code Modulation (PCM) 
-PAM ไม่ได้ส้รางดิจิตอลอย่างแท้จริง จึงดัดแปลง PAM ใหม่ เรียก PCM
- สัญญาณอะนาล็อกจะถูกควอนไตซ์(quantization) หรือกำหนดค่าตัวเลขให้กับพัลส์


Transmission Mode การส่งข้อมูลระหว่างคอมกับอุปกรณ์ภายนอกมี 2 วิธี คือแบบขนานกับอนุกรม

แบบอนุกรมแบ่งเป็น ซิงโครนัสกับอซิงโครนัส

การส่งแบบขนาน(Parallel Transmission) เป็นการส่งข้อมูลออกไปทีละหลายๆบิต แต่ถ้าส่งไป n บิต จะต้องใช้สาย n เส้น

* เร็ว แต่ค่าใช้จ่ายสูง
* เหมาะกับระยะทางที่สั้น ถ้าไประยะทางไกล อาจเกิดความผิดพลาดได้

การส่งข้อมูลแบบอนุกรม (Serial Transmission)  เป็นการส่งข้อมูลที่ใช้สายส่งเพียงเส้นเดียว ข้อมูลที่ส่งก็จะต้องเรียงกันออกไป โดยปกติถ้าส่งภายในคอมจะใช้แบบขนาน ถ้าภายนอกอาจจะอนุกรมก็ได้ ถ้าต้องต่อกับเครื่องภายนอกใช้แบบอนุกรม จะต้องแปลงข้อมูลจากขนานไปเป็นอนุกรม (parallel-to-serial) ก่อน ส่วนผู้รับจะต้องแปลงจากสายส่งไปเป็นขนานด้วย (serial-to-parallel)

อะซิงโครนัส(Asynchronous transmission) 
-เป็นการส่งข้อมูลครั้งละไบต์(1 Byte = 8 bits) 
-ไม่ต้องอาศัยสัญญาณนาฬิกา(Clock) ในการควบคุมจังหหวะของการส่งข้อมูล ฝ่ายรับจึงไม่ทราบเวลาที่แน่นอน 
- จึงต้องมีตัว start bit กำหนดเป็น 0 , stop bit กำหนดเป็น 1 เพื่อให้ฝ่ายรับทรายได้ว่าข้อมูลเริ่มตรงไหนสิ้นสุดตรงไหน การส่งอาจไม่ต่อเนื่องตลอด อาจมีช่องว่างได้(gap)
- ไม่ต้องอาศัยสัญญาณใดๆควบคุม เหมาะกับอุปกรณ์ความเร็วต่ำ เช่น Keyboard

ซิงโครนัส (Synchronous Transmission)
-ไม่ต้องอาศัย บิตเริ่มต้นและสิ้นสุด แต่มีสัญญาณ clock คุม
-สามารถส่งได้ต่อเนื่องเป็น "เฟรม" โดยไม่จำเป็นต้องมีช่องว่าง
- ฝ่ายรับข้อมูล จะต้องทำหน้าที่ในการแยกเฟรมออกเป็นไบต์เอง
- ฝ่ายรับจึงต้องนับจำนวนบิตข้อมูล เพราะไม่มีตัวสตาทสต็อป
- ซิงโครนัส มีความเร็วรับส่งข้อมูลเร็วกว่า อะซิงโครนัส และไม่มีช่องว่าง
- เหมาะกับอุปกรณ์ความเร็วสูง เช่น การส่งข้อมูลระหว่างคอม










9/16/2014

สัญญาณที่ใช้ในการสื่อสาร (Signal)

ก่อนที่ข้อมูลจะถูกส่งออกไป ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลประเภท ตัวอักษร รูปภาพ เสียง วีดีโอ จะถูกแปลงให้เป็นรูปแบบของบิต คือเป็นข้อมูลที่เป็น 0 กับ 1 แล้วจะแปลงให้อยู่ในรูปของสัญญาณ(สัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้า - electromagnetic signal) ก่อนจะส่งผ่านระบบเครือข่ายได้ หน้าที่นี้อยุ่ใน Physical Layer

สัญญาณจะมีสองแบบ คือ Analog and Digital

ตัวอย่างของสัญญาณ Analog เช่น เสียงคน
Digital ข้อมูลจะถูกจัดเก็บในรูปแบบ 0 หรือ 1 ถ้าต้องการจะส่งออกข้อมูลไปภายนอก(คอมพิวเตอร์) จะต้องทำการแปลงข้อมูลจาก Analog เป็น Digital เสียก่อน

Analog เป็นสัญญาณที่มีค่าของสัญญาณได้หลายๆค่า
Digital ค่าสัญญาณจะมีแค่ 0 กับ 1


สัญญาณมีคาบและไม่มีคาบ (Periodic - Aperiodic หรือ non- periodic)


สัญญาณมีคาบ(Periodic signal) เป็นสัญญาณที่มีลักษณะรูปแบบของสัญญาณซ้ำแบบเดิมทุกคาบเวลา คือมีการขึ้นลงของสัญญาณสลับเรื่อยๆ

สัญญาณไม่มีคาบ (Aperiodic signal) เป็นสัญญาณที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ โดยไม่ต้องมีรูปแบบ หรือไม่จำเป็นต้องเป็นลูกคลืน

*Digital หรือ Analog สามารถเป็นได้ทั้งมีคาบและไม่มีคาบ แต่โดยปกติแล้ว ถ้าพูดถึงการสื่อสารข้อมูล จะสรุปได้ว่า Analog หมายถึงสัญญาณแบบมีคาบ Digital หมายถึงแบบไม่มีคาบ

Analog Signal
เป็นสัญญาณที่มีคลื่นเคลื่อนที่ขึ้นลง สลับกันไป คือคลื่นรูปซายน์ (Sine wave)

คลื่นรูปซายน์จะเริ่มค่าจาก 0 แล้วค่อยๆเพิ่มตามระยะเวลาจนถึงจุดสูงสุด(Peak amplitude) จากนั้นจะลดมา 0 และลงไปจุดต่ำสุด แล้ววนขึ้นมาอีก ซ้ำไปมา หรือเรียกการเปลี่ยนแปลงสัญญาณใน 1 วงรอบ(cycle)

ความถี่ของสัญญาณหมายถึงจำนวนคาบเวลาต่อวินาที คือคลื่นมีความถี่มากแสดงว่ามีคาบเวลาน้อย คลื่นความถี่น้อย คาบเวลาก็จะมาก ตามสมการ f = 1/T และ T= 1/f

*คาบเวลามีหน่วยเป็นวินาที ความถี่มีหน่วยเป็นเฮิรตซ์ (hertz)

เฟส(Phase)
เฟสของสัญญาณอะนาล็อกจะเป็นค่าที่แสดงถึงตำแหน่งต่างๆของคลื่นรูปซายน์ ถ้าเลื่อนแกน y ไปทางขวาหรือซ้าย จะเห็นถึงเฟสที่มีความแตกต่างกันไป เฟสมีหน่วยเป็นองศาหรือ เรเดียน(radian)

360 = 2π rad

90 คือเคลื่อน 1/4 ลูก 180 คือครึ่งลูก 360 จนจบลูกคลื่นพอดี

Time and Frequency Domain 

เขียนได้สองแบบ
แบบแรก Time-domain เป็นกราฟที่แสดงถึงค่าแอมพลิจูด ความถี่ และเฟส แกน x แทนด้วยเวลา และแกน Y แทนด้วยแอมพลิจูด กราฟแบบนี้แสดงถึงเฟสและความถี่ ไม่ดีเท่าไหร่ (รูปล่างซ้าย)

แบบสอง Frequency-domain กราฟที่แสดงถึงแอมพลิจูดและความถี่ โดยแกน x คือความถี่ และ y คือแอมพลิจูด (รูปล่างขวา)

*อะนาล็อกควรใช้กราฟแบบน Frequency ดูจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่า




Composite Signals

คือการที่คลื่นรูปซายน์ที่แตกต่างกันมารวมกันเกิดเป็นคลื่นใหม่ เพราะในด้านการสื่อสารข้อมูล คลื่นรูปซายน์แบบเดียวไม่เพียงพอต่อการใช้งานจึงต้องมี Composite Signals ขึ้นมา


แบนด์วิดธ์ (Bandwidth)

สื่อชนิดต่างๆจะมีคุณสมบัติและความสามารถในการให้ความถี่ต่างๆผ่านไปได้ไม่เท่ากัน บางชนิดให้ความถี่สูงผ่านได้ บางชนิดไม่ได้ ช่วงความถี่ที่สื่อสามารถผ่านไปได้จะเรียก แบนด์วิดธฺ์ หรือย่านความถี่

การหาแบนวิดธ์คือหาความต่างของความถี่สูงสุดกับต่ำสุด เช่นสื่อชนิดหนึ่งส่งผ่านความถี่ได้ในช่วง 1000 ถึง 5000 เฮิรตซ์ แสดงว่าแบนวิดธ์คือ 4000 เฮิรตซ์

ฺฺตามสมการ    B = fmax- fmin

Digital Signal

โดยส่วนใหญ่สัญญาณดิจิตอลจะเป็นสัญญาณไม่มีคาบ คาบเวลาและความถี่จึงจะไม่ถูกนำมาใช้ในดิจิตัล แต่จะใช้คำว่า bit interval แทนคาบเวลา และ bit rate แทนความถี่

bit interval หมายถึง เวลาที่ต้องใช้ในการส่งข้อมูล 1 บิต มีหน่วยเป็นวินาที
bit rate หมายถึง อัตราการส่งข้อมูลบิตข้อมูลใน 1 วินาทีมีหน่วย bps(bits per second)

อัตราการส่งข้อมูลในช่องสื่อสาร ขึ้นอยู่กับ 3 องค์ประกอบคือ
- แบนด์วิดธ์
- ระดับของสัญญาณ
- คุณภาพช่องสัญญาณ (วัดจารระดับการรบกวน)/

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบกับสัญญาณ

ความเบาบางของสัญญาณ (Attenuation) เกิดจากการสูญพลังงานในระหว่างการส่ง เนื่องจากตัวกลางต้านๆจะมีความต้านทานอยู่ในตัวเอง ดังนั้นเมื่อผ่านสื่อเหล่านั้นพลังงานจะเปลี่ยนเป็นความร้อน จึงเกิดความเบาบาง ยิ่งไกลเท่าไหร่ยิ่งเบาเท่านั้น จึงต้องมีตัวขยายสัญญาณช่วย(amplify)

การบิดเบี้ยวของสัญญาณ(distoriton)
การที่สัญญาณมีลักษณะที่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นการ composite signal เนื่องจากสัญญาณแบบนี้เกิดจากการรวมกันของคลื่นซายซ์ ทำให้ความถี่มีความแตกต่างกัน มีความเป็นไปได้ที่ผ่านตัวกลางแล้ว สัญญาณนั้นจะไม่เท่ากัน บางตัวเร็ว บางตัวช้า จึงอาจเกิดการบิดเบี้ยว

สัญญาณรบกวน(noise)
- thernal noise เป็นสัญญาณรบกวนที่เกิดจากการเคลื่อนที่ผิดปกติของอิเล็กตรอนในสายสื่อสาร
- crosstalk เป็นสัญญาณรบกวนที่เกิดจากสายสื่อสารที่อยู่ติดกัน รบกวนกันเอง
-impulse noise เป็นสัญญาณรบกวนฉับพลันที่เกิดจาไฟฟ้าแรงสูง เช่นฟ้าผ่า

คำศัพท์ที่ควรรู้เพิ่มเติม

Throughput เป็นเครื่องมือที่เอาไว้ใช้วัดว่าข้อมูลสามารถเดินทางได้เร็วเท่าไร โดยการเอากำแพงขวางไหว ข้อมูลผ่านกำแพงนี้ได้กี่บิตต่อวินาที

Propagation Speed เป็นการวัดระยะทางของสัญญาณหรือบิตข้อมูลที่สามารถเดินทางผ่านสื่อกลางได้ในเวลา 1 วินาที ค่านี้แต่ละตัวกลางจะไม่เท่ากัน

Propagation Time เป็นเวลาที่สัญญาณหรือบิตข้อมูลเดินทางจากที่หนึ่งไปที่หนึ่ง การหานั้นทำได้โดย

progation time = distance / propagation speed

Wavelength คือความยาวคลื่น เป็นการวัดระยะของคลื่น 1 ลูกคลื่น หรือ 1 คาบเวลา ความยาวคลื่นถือเป็นคุณลักษณะหนึ่งของสัญญาณขึ้นอยู่กับชนิดของสื่อกลางแล้วขึ้นอยู่กับความถี่และชนิดสื่อด้วย

wavelength = propagation * period


9/15/2014

แบบจำลอง OSI Model

OSI ( Open Systems Interconnection) ถูกออกมาโดย ISO (International Organization for Standardization) เพื่อเป็นมาตรฐานในการพัฒนาเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลและคอมพิวเตอร์ โดยโครงสร้างจะแบ่งออกเป็น 7 Layer

ในที่นี่ได้อธิบายไป 5 layer ใน Internet Model ควรอ่านนี่่ก่อน -> Internet Model

เพิ่มจาก Internet Model มา 2 Layer คือ Session Layer และ Presentation Layer

Session Layer เป็นเลเยอร์ที่มีการสร้างเซสชันกันระหว่างเครื่อง เพื่อให้ผู้ใช้สามารถที่จะเชื่อมโยงกับเครื่องอื่นๆได้ เมื่อมีการสร้างเซสชันกันแล้ว การรับส่งข้อมูลจะใช้บริการจากทรานสปอร์ตเลเยอร์

Presentation Layer เป็นเลเยอร์ที่ช่วยแปลงรูปแบบของข้อมูลและแปลข้อมูล เพื่อที่จะให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลนั้นๆเป็นไปในรูปแบบเดียวกัน เช่น การเข้ารหัสข้อมูล

อย่างไรก็ตามในปัจจุบันนี้การทำงานของทั้งเซสชันเลเยอร์และพรีเซนเทชันเลเยอร์ได้นำมาสร้างเป็นโพรโตคอลที่อยู่ในเลเยอร์ต่างๆของแบบจำลองอินเทอร์เน็ตแล้ว(Internet Model) เช่นการเข้ารหัส ถอดรหัสข้อมูล หรือบีบอัดข้อมูล เราจึงควรเน้นศึกษา Internet Model เป็นหลัก


*สรุปเกี่ยวกับเลเยอร์
- แบบจำลองอินเทอร์เน็ต 5 เลเยอร์นั้น เป็นการช่วยให้เข้าใจถึงวิธีการทำงานของระบบเครือข่าย และจะช่วยให้สามารถออกแบบโพรโตคอลต่างๆ ให้ทำงานร่วมกันได้

- Physical , Data Link , Network Layer ทั้ง 3 เลเยอร์เป็นเลเยอร์ที่เน้นไปในส่วนการทำงานเครือข่าย

- Application Layer จะเน้นไปส่วนการสนับสนุนการทำงานเกี่ยวข้องกับผู้ใช้ และเป็นส่วนที่ให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้งานและบริการต่างๆได้

- Transportation Layer จะรับผิดชอบในการส่งข้อมูลระหว่างโพรเซสของต้นทางกับปลายทาง และเป็นส่วนเชื่อมโยงระหว่างการทำงานของเครือข่าย กับการทำงานเกี่ยวกับผู้ใช้

-  Data Link Layer จะทำหน้าที่ตรวจสอบความผิดพลาดของข้อมูล

- Physical Layer จะเกี่ยวข้องกับการส่งข้อมูลระดับบิตไปยังสื่อที่ใช้ส่งข้อมูล

แบบจำลอง Internet Model

เนื่องจาก Internet เป็นเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดของโลก ดังนั้นการอธิบายแบบจำลองของเครือข่ายจะใช้ตัว Internet Model หรือแบบจำลองของอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก ซึ่ง Internet Model สามารถเรียกอีกชื่อได้ว่า TCP/IP protocol suite

 ประกอบได้ด้วย 5 เลเยอร์ คือ Physical, Data Link , Network , Transport และ Application

*อุปกรณ์แต่ละตัวไม่จำเป็นต้องทำงานครบทั้ง 5 Layers ขึ้นอยู่กับลักษณะการทำงาน แต่ละเลเยอร์จะทำหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไป

Physical Layer

เป็นเลเยอร์ระดับล่างสุด ทำการส่งข้อมูลแค่ระดับบิตไปยังสื่อ(media) ภายในเลเยอร์นี้จะเกี่ยวข้องกับการกำหนดคุณสมบัติทางกลและทางไฟฟ้า ให้กับอินเทอร์เฟซ และสื่อที่ใช้ส่งข้อมุูล

หน้าที่หลัก

- กำหนดคุณสมบัติ Interface ที่เชื่อมต่อกันระหว่างอุปกรณ์
- แปลงข้อมูลบิตให้เป็นสัญญาณต่างๆ(Signal)
- กำหนดอัตราการส่งข้อมูล ว่าในแต่ละวินาทีสามารถส่งข้อมูลได้จำนวนเท่าใด
- กำหนดความสอดคล้องของข้อมูล มีสัญญาณนาฬิกา (Clock)ที่สอดคล้องกัน

Data Link Layer

- รับข้อมูลจากเน็ตเวิร์กเลเยอร์ แล้วแบ่งออกเป็นเฟรม(Frames) เพื่อสะดวกแก่การจัดส่งข้อมูล
- เพิ่ม Physical address เข้าไปที่เฮดเดอร์ เพื่อให้ทราบแอดเดรสของอุปกรณ์ต้นทางและปลายทาง
- Flow Control ควรคุมการไหลของข้อมูล ถ้ารับส่งข้อมูลไม่เท่ากัน อาจจะทำให้ข้อมูลสูญหาย จึงต้องมีกลไกควบคุม
- ควบคุมความผิดพลาดของข้อมูล เช่น มีเฟรมสูญหายหรือส่งซ้ำ จึงมีกลไกควบคุม ก่อนที่จะส่งข้อมูลให้ Network Layer โดยตรวจสอบโดยส่วนท้ายของเฟรม (trailer)
- ควบคุมการใช้สื่อในการส่งข้อมูล เมื่อใช้สื่อร่วมกัน มีโอกาสที่แต่ละอุปกรณ์จะส่งข้อมูลมาพร้อมกัน ทำให้ชน จึงต้องมีกลไกควบคุม

Network Layer

รับผิดชอบในการส่งข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ให้เป็นได้อย่างถูกต้อง เป็นการส่งข้อมูลข้ามเครือข่าย ถ้า Data Link Layer จะเน้นภายในเครือข่าย

- กำหนด Logical Address ของต้นทางปลายทางให้กับ packet โดยใส่เข้าไปที่ส่วนหัวแพ็กเก็ต เพื่อที่จะสามารถส่งข้อมูลข้ามเครือข่ายได้ (Physical Address ใน Data Link Layer นั้นจะใช้แค่ภายในเครือข่ายเดียวกันเท่านั้น)
- การหาเส้นทาง(Routing) ในการส่งข้ามเครือข่าย ต้องส่งต่อเป็นทอดๆ จากเครือข่ายนึงไปเครือข่ายนึง และมีหลายเส้นทาง จึงต้องมีการหาเส้นทางเพื่อให้ข้อมูลไปได้เร็วที่สุด

Transport Layer

- มีการกำหนดพอร์ต (Port) ขึ้นมา เพื่อจะเป็นเลขที่บ่งบอกโพรเซสต่างๆนั่นเอง เพราะมีหลายโพรเซส Logical Address ใน Network Layer จึงไม่เพียงพอ
- ข้อมูลที่จะถูกส่งจะถูกแบ่งออกเป็น Segment แต่ละ Segment จะมีหมายเลขกำกับ (Sequence number)

- ควบคุมการติดต่อกันระหว่าง Process ทำได้ 2 แบบ คือ Connectionless และ Connection-oriented โดย Connectionless นั้นไม่ต้องสร้างการติดต่อระหว่างโพรเซส เมื่อต้องการรับส่งข้อมูล สามารถทำได้เลย แต่ Connection-oriented ต้องสร้างการติดต่อระหว่างโพรเซสก่อน
-Flow control ควบคุมการไหลข้อมูล คล้ายใน Data Link Layer แต่จะควบคุมเฉพาะการไหลระหว่างโพรเซสเท่านั้น
- Error Control คล้ายใน Data Link เช่นกัน แต่จะควบคุมข้อผิดพลาดระหว่างโพรเซส

Application Layer

- ในเลเยอร์นี้จะเน้นส่วนติดต่อกับผู้ใช้ (User interface) และบริการต่างๆของเครือข่าย เช่น E-mail , การโอนย้ายไฟล์ (File transfer) , การใช้งาน WWW

- การเข้าใช้งานระยะไกล (remote log-in)

9/12/2014

แนะวิธี หาเงินกับ StartApp

StartApp คืออะไร?

StartApp คือบริษัทติดโฆษณาบนแอปพลิเคชั่นของคุณ เหมือนกับ Admob ของ Google แต่จุดเด่นของ StartApp นั้น คือแค่เขาโหลดแอป เราก็ได้ตังแล้ว ซึ่งถ้าเป็นตัว Admob เอง ต้องรอให้คนใช้แอปพลิเคชั่นของเรา แล้วคลิกโฆษณา เราถึงจะได้ตัง ซึ่งถ้าใครเป็นนักพัฒนาอยู่แล้ว StartApp ก็เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ

เข้าไปสมัครได้ที่ http://startapp.com/rfqoqnr (คุณและผมจะได้เงินโบนัสคนละ $15 จาก StartApp ถ้ามีการแสดงผลโฆษณาครบ 100K)


หลังจากสมัครเสร็จ ยืนยันอีเมลเรียบร้อย เราก็สามารถเพิ่ม App ของเราได้ทันที โดย Add ผ่าน package ที่ลงไว้ใน Google Play สำหรับ Android หรือ App Store ของทาง iOS

วิธีการติดเพิ่มเติมดูได้ที่นี่ ติด StartApp 
ถ้าสมัครผ่านลิ้งนี้ http://startapp.com/rfqoqnr  (คุณและผมจะได้เงินโบนัสคนละ $15 จาก StartApp ถ้ามีการแสดงผลโฆษณาครบ 100K)

8/30/2014

Computer Network คืออะไร ?

Computer Network (เครือข่ายคอมพิวเตอร์) คือระบบที่มีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่อง มาเชื่อมต่อกันโดยใช้สื่อกลาง และสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้ และยังใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในเครื่อข่ายร่วมกันได้ เช่น เครื่องปริ้น ซีดีรอม สแกนเนอร์ ฮาร์ดิสก์ เป็นต้น

ทำไมต้องสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ?

- สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- สามารถแชร์ทรัพยากร เช่น เครื่องปริ้น ฮาร์ดิสก์ สแกนเนอร์ได้
- ประหยัด เนื่องจากใช้ทรัพยากรร่วมกันได้
- สามารถแชร์เอกสารได้
- แชร์ซอฟแวร์ต่างๆ หรือไฟล์ต่างๆในได้

นี่เป็นประโยชน์เพียงบางส่วน ยังมีอีกหลายอย่างที่ยังไม่กล่าวถึง

องค์ประกอบพื้นฐานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์( Computer network)
- คอมพิวเตอร์อย่างน้อย 2 เครื่อง

- เน็ตเวิร์คการ์ด หรือ NIC ( network interface card) เป็นการ์ดที่เสียบเข้ากับช่องบนเมนบอร์ด ซึ่งเป็นจุดเชื่อมระหว่างคอมพิวเตอร์และเครือข่าย

- สื่อกลางและอุปกรณ์สำหรับการรับส่งข้อมูล เช่น สายสัญญาณ สายที่นิยมในเครือข่าย เช่น สายโคแอ็กเชียล สายคู่เกลียวบิด และสายใยแก้วนำแสง ส่วนอุปกรณ์เครือข่าย เช่น ฮับ สวิตซ์ เราท์เตอร์ เกตเวย์ เป็นต้น

- โปรโตคอล (Protocol) โปรโตคอลเป็นภาษาที่คอมพิวเตอร์ใช้สื่อสารกันผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่สามารถสื่อสารกันได้นั้นจำเป็นต้องใช้ภาษา หรือโปรโตคอลเดียวกันเช่น TCP/IP ,IPX/SPX , OSI

- ระบบปฎิบัติการเครือข่าย หรือ NOS ( Network Operating System) เป็นตัวจัดการควบคุมการใช้ทรัพยากรต่างๆของเครือข่าย ระบบปฎิบัติการที่นิยมเช่น Red hat Linux , Sun Solaris , Window server

8/24/2014

Line เพิ่มการแจ้งเตือนเมื่อล็อคอินผ่าน PC และวิธีการปิดการแจ้งเตือน

เมื่อไม่กี่วันมานี้ ทาง Line ได้เพิ่มระบบความปลอดภัยนี้ขึ้นมา โดยเมื่อเราล็อคอิน Line บน PC ก็จะมีการแจ้งเตือนข้อความไปยังมือถือ ว่าได้ล็อคอินที่คอมพิวเตอร์เครื่องไหน รุ่นอะไร เวลาเท่าไหร่

ซึ่งทาง Line ก็ได้มีตัวเลือกให้ติ๊กว่าต้องการ การแจ้งเตือนนี้ไหม  วิธีทำก็คือเข้าไปที่ Setting > ติ๊ก Turn off smartphone notifications when logged in to the PC version.
ปิดการแจ้งเตือน Line on pc


ซึ่งถ้ามองเรื่องความปลอดภัยว่าใครมา Hack เราหรือป่าว ก็ถือเป็นเรื่องดี แต่สำหรับบางคนที่ไม่ต้องการ ก็คงน่ารำคาญพอดู

8/17/2014

แนะนำ Application เรียน Tense ภาษาอังกฤษ

วันนี้เรามีแอปพลิเคชั่นบนมือถือสำหรับฝึก Temse มาแนะนำ เป็นแอปฯฟรี เนื่องจากมือถือนั้น เราจะพกติดตัวอยู่ตลอดเวลา ทำให้อยากจะอ่านจะทบทวนก็สามารถหยิบขึ้นมาอ่านได้เลย แอปพลิเคชั่นตัวนี้ เกี่ยวกับ Tesne ทั้ง 12 Tense ทั้งโครงสร้าง Tense การใช้ Tense ตามเหตุการณ์ต่างๆ

แอปฯตัวนี้ชื่อ เก่ง Tense ได้ง่ายๆ

หน้าตาแอปฯก็ประมาณนี้

เป็นแอปฯพลิเคชั่นฟรีของ Android สามารถไปโหลดมาฝึกใช้กันได้เลยที่นี่ >>>   เก่ง Tense ได้ง่ายๆ


8/02/2014

www คืออะไร ?

www (World Wire Web) คือ บริการอย่างนึงของ Internet(ระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ของคอมพิวเตอร์) ที่มีข้อมูลข่าวสาร เก็บไว้ตามเว็บไซต์(Website) ต่างๆ โดยเข้าผ่านทั้ง URL

- Tim BernersLee เป็นผู้ก่อตั้ง www และพัฒนามาจาก OS NEXT ของ Steve Job
- ฝั่ง client(ผู้ใช้) เรียก web client ฝั่ง server เรียก web server
- ใช้ information(ข้อมูลข่าวสาร) ที่เป็น Hypertext โดยใช้ web browser ในการอ่าน
- Protocol : จะเป็น HTTP – Hyper Text Transfer Protocol  เพื่อให้สามารถเปิดได้ในทุกระบบของคอมพิวเตอร์ผ่าน web browser
- W3C- World Wide Web Consortium องค์กรที่ควบคุมดูแลมาตรฐานบน web (we.org)

เพิ่มเต็มเกี่ยวกับเว็ปไซต์ที่ >>> เว็บไซต์(Website)

เว็บไซต์ Website คืออะไร?

เว็บไซต์(Website) คือหน้า เว็บเพจ(Web page) หลายๆหน้าที่สัมพันธ์กัน มาเชื่อมโยงกัน ผ่านทางลิ้งค์(Link) โดยมีอย่างน้อย 2 เว็บเพจ(Web page) ที่เชื่อมโยงถึงกัน

Web page คือหน้าแต่ละหน้าที่เชื่อมโยงกันภายใน Website
Home page คือ หน้าแรกที่เข้าสู่ Website นั้นๆ

ส่วนประกอบของเว็บไซต์(Website)
- HTML(HyperText Markup Language) ภาษาที่ใส่เนื้อหาของเว็บไซต์ แสดงผลเนื้อหา(content) ไม่ว่าจะเป็น text,image,media อื่นๆ
-CSS(Cascading Style Sheets) เป็นภาษาที่จัดรูปแบบให้กับเว็บไซต์ว่าส่วนไหนอยู่ซ้ายขวาบนล่าง ตรงไหน header footer

นี่คือส่วนประกอบหลักของเว็บไซต์ 2 ภาษานี้เป็นพื้นฐาน แต่ยังมีอีกหลายภาษาที่สำคัญต่อการเว็บไซต์(Website)

Web Content
-Static content คือเว็บไซต์ที่มีเนื้อหานิ่งๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงหลังทำเสร็จ เพราะไม่มีระบบจัดการ ถ้าจะเปลี่ยนคือเปลี่ยนทั้งหน้า Web page หรือเปลี่ยนทั้ง Website
-Dynamic content คือเว็บไซต์ที่เปลี่ยนแปลงเนื้อหาบ่อยๆ อาจจะทุกวัน ผ่านระบบการจัดการข้อมูล หรือระบบ Admin ที่เจ้าของเว็บไซต์นั้นๆสร้างขึ้น อาจจะใช้ CMS(Content Management System)เข้ามาช่วยในการทำเว็บไซต์

8/01/2014

CRM(Customer Relationship Management) คืออะไร


CRM คืออะไร CRM หมายถึงอะไร มาดูกัน

CRM เป็นส่วนหนึ่งของ ERP(Enterprise Resource Planning)

CRM หรือ (Customer Relationship Management)  คือ หน่วยงานที่เกี่ยวกับข้อมูลลูกค้า(ลูกค้าสัมพันธ์) ช่วยในการจัดการให้กับบริษัทต่างๆ เช่น การตลาด การโฆษณา การขาย บริการหลังการขาย ความจงรักภักดี

จุดประสงค์ของ CRM คือ เพื่อให้ลูกค้า เป็นลูกค้าประจาของบริษัท

ERP(Enterprise resource planning) คืออะไร

ERP (Enterprise resource planning) เกิดจาก TPS หลายๆตัวรวมกัน(ถ้ายังไม่รู้จัก TPS อ่านที่นี่ก่อน >>> Enterprise Systems ) เช่นการรวมเงิน ฝ่ายการเงิน ฝ่ายจัดการลูกค้า เป็นต้น ค่าโปรแกรมของ ERP นั้นจะแพง เพราะฉะนั้นจะใช้กันแค่บริษัทใหญ่ๆ

Overview(ภาพรวม)
- เกิดจาก MRP (Materials requirement planning) จุดประสงค์เพื่อสร้างระบบคอยหาวัตถุดิบ
- เห็นว่าขาดการรวมตัวเป็น 1 เดียว ข้อมูลไม่เชื่อมโยงกัน แยกๆเป็นฝ่าย บริการยาก
- พัฒนาจาก MRP เป็นการแชร์ข้อมูลร่วมกันในทุกๆหน่วยงานในธุรกิจในบริษัท >>> กาเนิดเป็น ERP

ข้อดีของ ERP คือ

  • การเข้าถึงข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจง่ายขึ้น
  • กำจัดระบบเก่าๆ (legacy) ที่ใช่เงินเยอะ และไม่ยืดหยุ่น
  • กระบวนการทำงานทำได้ดีขึ้น
  • ใช้ server (infrastructure) แค่ชุดเดียว
ข้อเสียของ ERP คือ
  • แพงมาก! ค่าใช้จ่ายสูง เช่นการจ้างนัก IT มาพัฒนา และใช้เวลา เพราะต้องทา software ให้ตรงกับความต้องการของบริษัท
  • เปลี่ยนแปลงยาก
  • นำไปรวมกับระบบยี่ห้ออื่นๆได้ยาก
  • แต่ถ้าใช้ยี่ห้อเดียวก็เสี่ยง
  • เสี่ยงต่อการล้มเหลว
การผลิต และ การจัดหาวัตถุดิบ (Production and Supply chain Management)
ERP จะต้องใช้ในการสนับสนุนการตัดสินใจต่างๆ
  • ทำนายเป้าหมายในอนาคต
  • แผนการขายและกระบวนการ
  • การจัดการด้านการผลิต
  • จัดตารางแผนงานโดยละเอียด
  • จัดหาวัตถุดิบเข้ามา
  • จัดซื้อ
  • ผลิตจริง
CRM(Customer Relationship Management) คืออะไร
CRM คือหน่วยงานที่เกี่ยวกับข้อมูลลูกค้า(ลูกค้าสัมพันธ์) ช่วยในการจัดการให้กับบริษัทต่างๆ เช่น การตลาด การโฆษณา การขาย บริการหลังการขาย ความจงรักภักดี

จุดประสงค์ของ CRM คือ เพื่อให้ลูกค้า เป็นลูกค้าประจาของบริษัท

เรื่องระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการใช้งาน ERP
  • ใช้ภาษาและวัฒนธรรมที่ต่างกัน
  • ความแตกต่างของ hardware, software ที่ใช้ไม่สอดคล้องกัน
  • กฎหมาย/สกุลเงินต่างกัน

Enterprise System คืออะไร

Enterprise System คือระบบศูนย์กลางของทั้งองค์กร(server ตัวเดียว) ที่สนับสนุนการทำงานทั่วๆไป ข้อมูลจะถูกรวมเก็บไว้ในที่เดียว ทำให้สามารถมั่นใจว่าจะแชร์ข้อมูล เพื่อใช้ร่วมกันได้ทุกแผนก และทุกๆระดับการจัดการ ทำให้กำจัดปัญหาเรื่องการขาดข้อมูลประกอบการตัดสินใจ และการไม่สอดคล้องกันของข้อมูล

"จัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระเบียบ เพื่อให้ผู้บริหารมาวิเคราะห์ข้อมูล"

TPS (Transaction Processing Systems) คือ

ระบบประมวลผลช่วยในการจัดเก็บ(Capture) และนำข้อมูลจำเป็นในธุรกิจมาใช้งาน ช่วยในการจัดการธุรกิจในองค์กร (จัดเก็บ>อัพเดตฐานข้อมูล>รายงาน)
ข้อมูลของ TPS มีไว้เพื่อเป็นระบบการจัดการ เป็นระบบที่ใช้ Support กิจกรรมทางการเงิน

- TPS เป็นข้อมูลดิบ(data) เหมาะสำหรับพนักงานระดับล่าง แล้วจะถูกแปลงเป็น information เพื่อให้พนักงานระดับสูง วิเคราะห์ต่อไป

Transaction Processing Cycle**
- Data Collection การกรอก/เก็บข้อมูลที่จำเป็นในการ transaction ส่วนใหญ่รวบรวมจากแหล่งข้อมูลโดยตรง และรวดเร็ว เช่นการแตะบัตรนศ.
- Data Edting การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล เช่น การรับข้อมูลที่กรอกเข้ามาควรเป็นตัวเลขเท่านั้น
-Data Correction เช็คความถูกต้อง ถ้ากรอกถ้ากรอกผิดให้กรอกใหม่ reentering >> การกรอกใหม่ แก้ไขข้อมูลที่กรอกให้ถูกต้อง
- Data Manipulation การนาข้อมูลไปคำนวณ สรุปยอด หรือเตรียมไปใช้งานอย่างอื่นต่อ
- Data Storage การเก็บข้อมูลใส่ฐานข้อมูล ออกรายงาน ช่วยตัดสินใจ วิเคราะห์
- Document Production การออกรายงาน ทำสรุปข้อมูลเป็นกระดาษ (hard copy)หรือแบบแสดงผลทางคอมพิวเตอร์ (soft copy)

7/31/2014

เราจะเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต(internet) ได้ยังไง

ก่อนอื่นเราต้องรู้จัก ISP ก่อน แล้ว ISP คืออะไรล่ะ?

ISP (Internet Service Provider) คือ หน่วยงานที่ให้บริการเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่าย ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต(Internet) นั่นเอง ในประเทศไทย มีผู้ให้บริการอยู่ 2 ประเภท

1.) ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ (Commercial ISP) จานวน 18 ราย
2.) ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตสาหรับสถาบันการศึกษา การวิจัยและหน่วยงานของรัฐ (non-
Commercial ISP) จานวน 6 ราย เช่น ICT (กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)

เราจะเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต(Internet) ได้ยังไง
ผู้ใช้ทั่วไปจะเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้โดยผ่านทาง ISP ดังที่กล่าวไปแล้ว แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราจะต้องมี อุปกรณ์ที่เหมาะสมในการแปลงสัญญาณผ่านสื่อที่จะใช้แต่ละประเภท

- Dial-up คือต่อผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดา ต้องมีโมเด็ม(Modem) ที่ต่อกับคอมพิวเตอร์ แล้วเอาสายโทรศัพท์มาต่อเข้าไปอีกที่หนึ่ง หรือถ้าเป็นโทรศัพท์ ISDN(Intregrated Services Digital Network) ก็ต้องใช้โมเด็ม ISDN โดยเฉพาะแทน

- Broadbrand ถ้าต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่เรียกว่า ADSL(Asynchronous Digital Subscriber Line) หรือบรอดแบนด์(broadband) ก็ต้องมีโมเด็มชนิด ADSL ที่ต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับสายโทรศัพท์เช่นเดียวกัน แต่รับส่ง สัญญาณในสายคนละแบบ คนละความถี่กัน ทำให้ได้ความเร็วสูงขึ้นกว่าโมเด็มธรรมดา แต่ต้องมีอุปกรณ์พิเศษที่ชุมสายด้วยจึงจะใช้ได้

อินเทอร์เน็ต(Internet) คืออะไร

ในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานในหน่วยงานประเภทต่างๆ มากมาย ซึ่งมีผลทาให้การทางานในองค์กรหรือหน่วยงาน สามารถทางานได้อย่างเป็นระบบ และสามารถพัฒนาการทางานได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในองค์กร หรือหน่วยงานก็เริ่มมีการพัฒนาขึ้นแทนที่จะใช้ในลักษณะหนึ่งเครื่องต่อหนึ่งคน ก็ให้มีการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ มาเชื่อมต่อกัน เป็น "ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์"

Internet ก็คือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ขนาดใหญ่ ที่เกิดจากเครือข่ายเล็กๆทั้งหลายทั่วโลก มารวมกันเป็นเครือข่ายเดียวกันทั้งโลก

ประวัติความเป็นมาของ อินเทอร์เน็ต (Internet)
จุดเริ่มต้นของ อินเทอร์เน็ต(Internet) เริ่มเมื่อปี ค.ศ. 1969 เมื่อตัวแทนวิจัยของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา หรืออาร์พา (ARPA : Advance Research Projects Agency) เริ่มมีการเชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ในมหาวิทยาลัยและองค์กรต่าง ๆ กับกระทรวงกลาโหม โดยที่จุดประสงค์เริ่มแรก คือ ต้องการสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีการเชื่อมต่อหลายเส้นทาง ซึ่งถ้าหากเกิดความเสียหายเนื่องจากสงคราม ผู้ใช้ในระบบเครือข่ายนี้ยังคงสามารถแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกันได้

ในปี พ.ศ. 2525 ได้มีการกาหนดมาตรฐานการรับ – ส่งข้อมูลใหม่เป็นแบบ TCP/IP (Transmission Control
Protocol/Internet Protocol) ทาให้การจัดการและการเชื่อมต่อเครือข่ายขนาดใหญ่มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น และเนื่องจากมาตรฐานใหม่ดังกล่าวลงท้ายด้วยคำว่า Internet Protocol ทาให้ของ ARPANET ถูกเปลี่ยนไปเป็น อินเทอร์เน็ต(Internet) 

ในเวลาต่อมาการพัฒนาและใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ต(Internet)ในประเทศไทย เกิดขึ้นในระหว่างปี พ.ศ. 2530 – 2537 โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ภายใต้การสนับสนุนจากโครงการ The International Development Plan (IDP) ของรัฐบาลออสเตรเลีย การใช้งานเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ในยุคแรก เป็นการส่งข้อความจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในรูปของตัวอักษร (Text) และจำกัดอยู่ในเฉพาะในวงการวิชาการ เท่านั้น

Electronic Commerce(e-commerce) คืออะไร

E-Commerce หรือชื่อเต็มๆว่า Electronic Commerce คือการทำธุรกิจผ่านอินเทอร์เน็ต(Internet) หรือ TPS ซึ่งมุ่งเน้นการซื้อขายสินค้าผ่าน internet

ธุรกิจ ที่ควรใช้ e-commerce
  • ธุรกิจที่ต้องใช้กระดาษเยอะๆ
  • ธุรกิจที่เสียเวลา
  • ธุรกิจที่ไม่สะดวกกับลูกค้า
ประเภทของ e-commerce

1.) B2B (Business to Business)
  • ธุรกิจ+ธุรกิจ การรวมตัวของธุรกิจขนาดใหญ่ ทำให้เติบโตเร็วมาก
2.) B2C (Business to Consumer)
  • ธุรกิจ+ลูกค้า คือธุรกิจที่ซื้อขายโดนตรงให้กับลูกค้า
  • ประโยชน์คือ หลีกเลี่ยงพ่อค้าคนกลาง ทำให้ลดราคาสินค้าได้ กำไรสูงขึ้น
3.) C2C (Consumer to Consumer)
  • ลูกค้าซื้อขายกันเอง เช่น eBay
ข้อดีของ e-commerce
  • การขายการตลาดได้ประโยชน์
  • ลูกค้าสะดวกในการติดต่อ
  • ลดค่าใช้จ่ายเช่นการจ้างงาน
  • บริการได้ดีขึ้น ทำให้เกิดความเชื่อมั่น
  • เข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น
  • ความเร็วในการสื่อสารมากขึ้น
  • เพิ่มความแม่นยำ

Domain name คืออะไร

Domain name คืออะไร

เราต้องรู้จัก IP Address ก่อน IP Address คือเป็นเลขชุดสี่ตัว ซึ่งมีค่าตั้งแต่ 0-255 คั่นด้วยจุด เช่น 74.125.224.72 ซึ่งเวลาเราจะเข้าเว็บไซต์หนึ่งๆนั้น จะเชื่อมไปที่ IP Address ซึ่งเป็นที่อยู่ของเว็บไซต์นั้นๆ เราจะต้องพิม http://74.125.224.72 แล้วจึงจะเข้าไปที่เว็ปไซต์นั้นๆ ซึ่งถ้าเราจะจำตัวเลข IP Address ในการเข้าเว็บไซต์หนึ่งๆนั้น มันจำยากมาก เราจึงต้องสร้าง Domain Name ขึ้นมาแทน โดยใช้เป็นภาษาอังกฤษ คั่นด้วยจุด เพื่อใช้แทน IP Address นั้นๆ

เช่น http://74.125.224.72/  -> http://google.com

ประเภทของ Domain Name

โดยรวมเราแบ่งประเภทของ Domain Name บนอินเทอร์เน็ตได้ 2 ประเภท

1.) Generic Top Level Domain (gTLD) คือ หมายถึง Domain Name สากล ไม่ระบุสัญชาติ เช่น .com .org .net ซึ่งส่วนนี้สามารถบ่งบอกประเภทหน่วยงานของเว็บนั้นๆได้ด้วย เช่น org คือหน่วยงานไม่หวังผลกำไร .com มักจะเป็นหน่วยธุรกิจ
ตัวอย่าง Domain แสดงประเภทองค์กร
.edu (Education)     เครือข่ายองค์กรเพื่อการศึกษา  
.gov (Government) เครือข่ายองค์กรรัฐบาล
.net  (Network)      เครือข่ายองค์กรผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ต(ISP)
.biz (Business)        เครือข่ายธุรกิจ
.info (Information)  กลุ่มผู้ให้บริการด้านข้อมูลข่าวสาร

2.) Coutry Code Top Level Domain (ccTLD) คือ Domain Name ประจำสัญชาติ เช่น .th ของไทย .jp ของญี่ปุ่น .uk ของประเทศอังกฤษ .au ของประเทศออสเตรเลียเป็นต้น ในปัจจุบัน Domain Name จะประจำสัญชาติอยู่ราวๆ 240 ประเทศ โดยแต่ละประเทศมีสิทธิพิจารณาแบ่ง Domain Name ประจำชาติของตนออกเป็นประเภทย่อยๆ อีกหรือไม่ก็ได้ การแบ่งย่อยๆนี้ เรียก Level Domains และสามารถกำหนดเกณฑ์ในการจดทะเบียนชื่อโดเมนของชาติตนเองได้อีกด้วย เช่นอาจจำกัดสิทธิให้เฉพาะหน่วยงานบางหน่วยงาน

ในกรณีประเทศไทยได้แบ่งชื่อ Domain ออกเป็น 7 ประเภทย่อย
.co.th สำหรับหน่วยธุรกิจ
.ac.th สำหรับสถาบันการศึกษา
.go.th สำหรับหน่วยงานราชการ
.in.th สำหรับบุลคคลทั่วไปและอื่นๆ
.or.th สำหรับองค์กรไม่หวังผลกำไร
.net.th สำหรับหน่วยงานให้บริการท่างเครือข่าย
.mi.th สำหรับหน่วยงานทหาร

Information คืออะไร ต่างกับ Data ยังไง

การจัดการข้อมูล

Data->Information->Knowledge->Wisdom

Data คือ ข้อมูล ที่เป็นข้อมูลดิบ ที่เก็บมา ซึ่งจะเป็นเท็จจริง หรือเก็บมาตามเหตุการณ์ อาจจะเก็บเป็นตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ก็ได้ เช่น ระยะทาง ปริมาณสิ่งของต่างๆ ชื่อที่อยู่ เพศ ฯลฯ

Information หรือแปลว่า สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านการคิดวิเคราะห์แล้ว ผ่านการประมวลผลแล้ว ทำให้เป็นข้อมูลที่ดี สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อได้

Knowledge หรือความรู้ คือการเรียนรู้จาก Information คือการนำข้อมูลที่ประมวลผลแล้วมาคิดแก้ไข หลีกเลี่ยงปัญหาต่างๆ

Wisdom หรือภูมิปัญญา คือคิดต่อจาก Knowledge ว่า ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ล่ะ จะทำยังไงต่อ จะแก้ปัญหานั้นยังไงต่อไป


6/13/2014

การทำให้ Notepad ไม่มี Scrollbar (Format ให้อ่านง่ายๆ)


อาจจะงงเมื่อบอกว่าทำให้ไม่มี Scrollbar ทำไปทำไม คำตอบคือบางครั้งเวลาเปิดอ่านข้อความใน Notepad บางทีมันจะยาวไปทางขวามากๆ ทำให้เสียเวลาเลื่อนตามมันไป เลยมีวิธีที่จะจัด Format ให้มัน วิธีก็คือ เข้าไปที่โปรแกรม Notepad เข้าเมนู Format จากนั้นเข้า Word Wrap

-จะเห็นว่าตอนแรกเนื้อหาจะยาวไปเรื่อยๆ

domain คือ e-commerce คือ information คือ


-ผลลัพธ์หลังการใช้ Format > Word Wrap

domain คือ e-commerce คือ information คือ , Notepad

จะเห็นว่าหลังกด Word Wrap แล้ว เนื้อหาจะเรียงมาตรงๆ ทำให้อ่านง่ายขึ้นเยอะเลยครับ

เมื่อ Keyboard เสีย ?


เมื่อ Keyboard เสีย เราสามารถเปิด On screen keyboard มาใช้แก้ขัดได้ก่อน

โดยวิธีการดังนี้
1. กด Start
2. เข้าไปที่ Accessories
3. เข้า Ease of Access
4 เข้า On-Screen Keyboard ก็จะปรากฎ Keyboard อยู่บนหน้าจอ

domain คือ information คือ

ทีนี้ เราก็สามารถคลิกปุ่มของ Keyboard บนจอ แทนไปก่อนแก้ขัดได้แล้วครับ