ประกอบได้ด้วย 5 เลเยอร์ คือ Physical, Data Link , Network , Transport และ Application
*อุปกรณ์แต่ละตัวไม่จำเป็นต้องทำงานครบทั้ง 5 Layers ขึ้นอยู่กับลักษณะการทำงาน แต่ละเลเยอร์จะทำหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไป
Physical Layer
เป็นเลเยอร์ระดับล่างสุด ทำการส่งข้อมูลแค่ระดับบิตไปยังสื่อ(media) ภายในเลเยอร์นี้จะเกี่ยวข้องกับการกำหนดคุณสมบัติทางกลและทางไฟฟ้า ให้กับอินเทอร์เฟซ และสื่อที่ใช้ส่งข้อมุูล
หน้าที่หลัก
- กำหนดคุณสมบัติ Interface ที่เชื่อมต่อกันระหว่างอุปกรณ์
- แปลงข้อมูลบิตให้เป็นสัญญาณต่างๆ(Signal)
- กำหนดอัตราการส่งข้อมูล ว่าในแต่ละวินาทีสามารถส่งข้อมูลได้จำนวนเท่าใด
- กำหนดความสอดคล้องของข้อมูล มีสัญญาณนาฬิกา (Clock)ที่สอดคล้องกัน
Data Link Layer
- รับข้อมูลจากเน็ตเวิร์กเลเยอร์ แล้วแบ่งออกเป็นเฟรม(Frames) เพื่อสะดวกแก่การจัดส่งข้อมูล
- เพิ่ม Physical address เข้าไปที่เฮดเดอร์ เพื่อให้ทราบแอดเดรสของอุปกรณ์ต้นทางและปลายทาง
- Flow Control ควรคุมการไหลของข้อมูล ถ้ารับส่งข้อมูลไม่เท่ากัน อาจจะทำให้ข้อมูลสูญหาย จึงต้องมีกลไกควบคุม
- ควบคุมความผิดพลาดของข้อมูล เช่น มีเฟรมสูญหายหรือส่งซ้ำ จึงมีกลไกควบคุม ก่อนที่จะส่งข้อมูลให้ Network Layer โดยตรวจสอบโดยส่วนท้ายของเฟรม (trailer)
- ควบคุมการใช้สื่อในการส่งข้อมูล เมื่อใช้สื่อร่วมกัน มีโอกาสที่แต่ละอุปกรณ์จะส่งข้อมูลมาพร้อมกัน ทำให้ชน จึงต้องมีกลไกควบคุม
Network Layer
รับผิดชอบในการส่งข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ให้เป็นได้อย่างถูกต้อง เป็นการส่งข้อมูลข้ามเครือข่าย ถ้า Data Link Layer จะเน้นภายในเครือข่าย
- กำหนด Logical Address ของต้นทางปลายทางให้กับ packet โดยใส่เข้าไปที่ส่วนหัวแพ็กเก็ต เพื่อที่จะสามารถส่งข้อมูลข้ามเครือข่ายได้ (Physical Address ใน Data Link Layer นั้นจะใช้แค่ภายในเครือข่ายเดียวกันเท่านั้น)
- การหาเส้นทาง(Routing) ในการส่งข้ามเครือข่าย ต้องส่งต่อเป็นทอดๆ จากเครือข่ายนึงไปเครือข่ายนึง และมีหลายเส้นทาง จึงต้องมีการหาเส้นทางเพื่อให้ข้อมูลไปได้เร็วที่สุด
Transport Layer
- มีการกำหนดพอร์ต (Port) ขึ้นมา เพื่อจะเป็นเลขที่บ่งบอกโพรเซสต่างๆนั่นเอง เพราะมีหลายโพรเซส Logical Address ใน Network Layer จึงไม่เพียงพอ
- ข้อมูลที่จะถูกส่งจะถูกแบ่งออกเป็น Segment แต่ละ Segment จะมีหมายเลขกำกับ (Sequence number)
- ควบคุมการติดต่อกันระหว่าง Process ทำได้ 2 แบบ คือ Connectionless และ Connection-oriented โดย Connectionless นั้นไม่ต้องสร้างการติดต่อระหว่างโพรเซส เมื่อต้องการรับส่งข้อมูล สามารถทำได้เลย แต่ Connection-oriented ต้องสร้างการติดต่อระหว่างโพรเซสก่อน
-Flow control ควบคุมการไหลข้อมูล คล้ายใน Data Link Layer แต่จะควบคุมเฉพาะการไหลระหว่างโพรเซสเท่านั้น
- Error Control คล้ายใน Data Link เช่นกัน แต่จะควบคุมข้อผิดพลาดระหว่างโพรเซส
Application Layer
- ในเลเยอร์นี้จะเน้นส่วนติดต่อกับผู้ใช้ (User interface) และบริการต่างๆของเครือข่าย เช่น E-mail , การโอนย้ายไฟล์ (File transfer) , การใช้งาน WWW
- การเข้าใช้งานระยะไกล (remote log-in)
0 comments:
Post a Comment