7/31/2014

เราจะเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต(internet) ได้ยังไง

ก่อนอื่นเราต้องรู้จัก ISP ก่อน แล้ว ISP คืออะไรล่ะ?

ISP (Internet Service Provider) คือ หน่วยงานที่ให้บริการเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่าย ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต(Internet) นั่นเอง ในประเทศไทย มีผู้ให้บริการอยู่ 2 ประเภท

1.) ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ (Commercial ISP) จานวน 18 ราย
2.) ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตสาหรับสถาบันการศึกษา การวิจัยและหน่วยงานของรัฐ (non-
Commercial ISP) จานวน 6 ราย เช่น ICT (กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)

เราจะเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต(Internet) ได้ยังไง
ผู้ใช้ทั่วไปจะเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้โดยผ่านทาง ISP ดังที่กล่าวไปแล้ว แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราจะต้องมี อุปกรณ์ที่เหมาะสมในการแปลงสัญญาณผ่านสื่อที่จะใช้แต่ละประเภท

- Dial-up คือต่อผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดา ต้องมีโมเด็ม(Modem) ที่ต่อกับคอมพิวเตอร์ แล้วเอาสายโทรศัพท์มาต่อเข้าไปอีกที่หนึ่ง หรือถ้าเป็นโทรศัพท์ ISDN(Intregrated Services Digital Network) ก็ต้องใช้โมเด็ม ISDN โดยเฉพาะแทน

- Broadbrand ถ้าต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่เรียกว่า ADSL(Asynchronous Digital Subscriber Line) หรือบรอดแบนด์(broadband) ก็ต้องมีโมเด็มชนิด ADSL ที่ต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับสายโทรศัพท์เช่นเดียวกัน แต่รับส่ง สัญญาณในสายคนละแบบ คนละความถี่กัน ทำให้ได้ความเร็วสูงขึ้นกว่าโมเด็มธรรมดา แต่ต้องมีอุปกรณ์พิเศษที่ชุมสายด้วยจึงจะใช้ได้

อินเทอร์เน็ต(Internet) คืออะไร

ในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานในหน่วยงานประเภทต่างๆ มากมาย ซึ่งมีผลทาให้การทางานในองค์กรหรือหน่วยงาน สามารถทางานได้อย่างเป็นระบบ และสามารถพัฒนาการทางานได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในองค์กร หรือหน่วยงานก็เริ่มมีการพัฒนาขึ้นแทนที่จะใช้ในลักษณะหนึ่งเครื่องต่อหนึ่งคน ก็ให้มีการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ มาเชื่อมต่อกัน เป็น "ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์"

Internet ก็คือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ขนาดใหญ่ ที่เกิดจากเครือข่ายเล็กๆทั้งหลายทั่วโลก มารวมกันเป็นเครือข่ายเดียวกันทั้งโลก

ประวัติความเป็นมาของ อินเทอร์เน็ต (Internet)
จุดเริ่มต้นของ อินเทอร์เน็ต(Internet) เริ่มเมื่อปี ค.ศ. 1969 เมื่อตัวแทนวิจัยของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา หรืออาร์พา (ARPA : Advance Research Projects Agency) เริ่มมีการเชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ในมหาวิทยาลัยและองค์กรต่าง ๆ กับกระทรวงกลาโหม โดยที่จุดประสงค์เริ่มแรก คือ ต้องการสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีการเชื่อมต่อหลายเส้นทาง ซึ่งถ้าหากเกิดความเสียหายเนื่องจากสงคราม ผู้ใช้ในระบบเครือข่ายนี้ยังคงสามารถแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกันได้

ในปี พ.ศ. 2525 ได้มีการกาหนดมาตรฐานการรับ – ส่งข้อมูลใหม่เป็นแบบ TCP/IP (Transmission Control
Protocol/Internet Protocol) ทาให้การจัดการและการเชื่อมต่อเครือข่ายขนาดใหญ่มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น และเนื่องจากมาตรฐานใหม่ดังกล่าวลงท้ายด้วยคำว่า Internet Protocol ทาให้ของ ARPANET ถูกเปลี่ยนไปเป็น อินเทอร์เน็ต(Internet) 

ในเวลาต่อมาการพัฒนาและใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ต(Internet)ในประเทศไทย เกิดขึ้นในระหว่างปี พ.ศ. 2530 – 2537 โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ภายใต้การสนับสนุนจากโครงการ The International Development Plan (IDP) ของรัฐบาลออสเตรเลีย การใช้งานเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ในยุคแรก เป็นการส่งข้อความจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในรูปของตัวอักษร (Text) และจำกัดอยู่ในเฉพาะในวงการวิชาการ เท่านั้น

Electronic Commerce(e-commerce) คืออะไร

E-Commerce หรือชื่อเต็มๆว่า Electronic Commerce คือการทำธุรกิจผ่านอินเทอร์เน็ต(Internet) หรือ TPS ซึ่งมุ่งเน้นการซื้อขายสินค้าผ่าน internet

ธุรกิจ ที่ควรใช้ e-commerce
  • ธุรกิจที่ต้องใช้กระดาษเยอะๆ
  • ธุรกิจที่เสียเวลา
  • ธุรกิจที่ไม่สะดวกกับลูกค้า
ประเภทของ e-commerce

1.) B2B (Business to Business)
  • ธุรกิจ+ธุรกิจ การรวมตัวของธุรกิจขนาดใหญ่ ทำให้เติบโตเร็วมาก
2.) B2C (Business to Consumer)
  • ธุรกิจ+ลูกค้า คือธุรกิจที่ซื้อขายโดนตรงให้กับลูกค้า
  • ประโยชน์คือ หลีกเลี่ยงพ่อค้าคนกลาง ทำให้ลดราคาสินค้าได้ กำไรสูงขึ้น
3.) C2C (Consumer to Consumer)
  • ลูกค้าซื้อขายกันเอง เช่น eBay
ข้อดีของ e-commerce
  • การขายการตลาดได้ประโยชน์
  • ลูกค้าสะดวกในการติดต่อ
  • ลดค่าใช้จ่ายเช่นการจ้างงาน
  • บริการได้ดีขึ้น ทำให้เกิดความเชื่อมั่น
  • เข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น
  • ความเร็วในการสื่อสารมากขึ้น
  • เพิ่มความแม่นยำ

Domain name คืออะไร

Domain name คืออะไร

เราต้องรู้จัก IP Address ก่อน IP Address คือเป็นเลขชุดสี่ตัว ซึ่งมีค่าตั้งแต่ 0-255 คั่นด้วยจุด เช่น 74.125.224.72 ซึ่งเวลาเราจะเข้าเว็บไซต์หนึ่งๆนั้น จะเชื่อมไปที่ IP Address ซึ่งเป็นที่อยู่ของเว็บไซต์นั้นๆ เราจะต้องพิม http://74.125.224.72 แล้วจึงจะเข้าไปที่เว็ปไซต์นั้นๆ ซึ่งถ้าเราจะจำตัวเลข IP Address ในการเข้าเว็บไซต์หนึ่งๆนั้น มันจำยากมาก เราจึงต้องสร้าง Domain Name ขึ้นมาแทน โดยใช้เป็นภาษาอังกฤษ คั่นด้วยจุด เพื่อใช้แทน IP Address นั้นๆ

เช่น http://74.125.224.72/  -> http://google.com

ประเภทของ Domain Name

โดยรวมเราแบ่งประเภทของ Domain Name บนอินเทอร์เน็ตได้ 2 ประเภท

1.) Generic Top Level Domain (gTLD) คือ หมายถึง Domain Name สากล ไม่ระบุสัญชาติ เช่น .com .org .net ซึ่งส่วนนี้สามารถบ่งบอกประเภทหน่วยงานของเว็บนั้นๆได้ด้วย เช่น org คือหน่วยงานไม่หวังผลกำไร .com มักจะเป็นหน่วยธุรกิจ
ตัวอย่าง Domain แสดงประเภทองค์กร
.edu (Education)     เครือข่ายองค์กรเพื่อการศึกษา  
.gov (Government) เครือข่ายองค์กรรัฐบาล
.net  (Network)      เครือข่ายองค์กรผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ต(ISP)
.biz (Business)        เครือข่ายธุรกิจ
.info (Information)  กลุ่มผู้ให้บริการด้านข้อมูลข่าวสาร

2.) Coutry Code Top Level Domain (ccTLD) คือ Domain Name ประจำสัญชาติ เช่น .th ของไทย .jp ของญี่ปุ่น .uk ของประเทศอังกฤษ .au ของประเทศออสเตรเลียเป็นต้น ในปัจจุบัน Domain Name จะประจำสัญชาติอยู่ราวๆ 240 ประเทศ โดยแต่ละประเทศมีสิทธิพิจารณาแบ่ง Domain Name ประจำชาติของตนออกเป็นประเภทย่อยๆ อีกหรือไม่ก็ได้ การแบ่งย่อยๆนี้ เรียก Level Domains และสามารถกำหนดเกณฑ์ในการจดทะเบียนชื่อโดเมนของชาติตนเองได้อีกด้วย เช่นอาจจำกัดสิทธิให้เฉพาะหน่วยงานบางหน่วยงาน

ในกรณีประเทศไทยได้แบ่งชื่อ Domain ออกเป็น 7 ประเภทย่อย
.co.th สำหรับหน่วยธุรกิจ
.ac.th สำหรับสถาบันการศึกษา
.go.th สำหรับหน่วยงานราชการ
.in.th สำหรับบุลคคลทั่วไปและอื่นๆ
.or.th สำหรับองค์กรไม่หวังผลกำไร
.net.th สำหรับหน่วยงานให้บริการท่างเครือข่าย
.mi.th สำหรับหน่วยงานทหาร

Information คืออะไร ต่างกับ Data ยังไง

การจัดการข้อมูล

Data->Information->Knowledge->Wisdom

Data คือ ข้อมูล ที่เป็นข้อมูลดิบ ที่เก็บมา ซึ่งจะเป็นเท็จจริง หรือเก็บมาตามเหตุการณ์ อาจจะเก็บเป็นตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ก็ได้ เช่น ระยะทาง ปริมาณสิ่งของต่างๆ ชื่อที่อยู่ เพศ ฯลฯ

Information หรือแปลว่า สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านการคิดวิเคราะห์แล้ว ผ่านการประมวลผลแล้ว ทำให้เป็นข้อมูลที่ดี สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อได้

Knowledge หรือความรู้ คือการเรียนรู้จาก Information คือการนำข้อมูลที่ประมวลผลแล้วมาคิดแก้ไข หลีกเลี่ยงปัญหาต่างๆ

Wisdom หรือภูมิปัญญา คือคิดต่อจาก Knowledge ว่า ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ล่ะ จะทำยังไงต่อ จะแก้ปัญหานั้นยังไงต่อไป