เราต้องรู้จัก IP Address ก่อน IP Address คือเป็นเลขชุดสี่ตัว ซึ่งมีค่าตั้งแต่ 0-255 คั่นด้วยจุด เช่น 74.125.224.72 ซึ่งเวลาเราจะเข้าเว็บไซต์หนึ่งๆนั้น จะเชื่อมไปที่ IP Address ซึ่งเป็นที่อยู่ของเว็บไซต์นั้นๆ เราจะต้องพิม http://74.125.224.72 แล้วจึงจะเข้าไปที่เว็ปไซต์นั้นๆ ซึ่งถ้าเราจะจำตัวเลข IP Address ในการเข้าเว็บไซต์หนึ่งๆนั้น มันจำยากมาก เราจึงต้องสร้าง Domain Name ขึ้นมาแทน โดยใช้เป็นภาษาอังกฤษ คั่นด้วยจุด เพื่อใช้แทน IP Address นั้นๆ
เช่น http://74.125.224.72/ -> http://google.com
ประเภทของ Domain Name
โดยรวมเราแบ่งประเภทของ Domain Name บนอินเทอร์เน็ตได้ 2 ประเภท
1.) Generic Top Level Domain (gTLD) คือ หมายถึง Domain Name สากล ไม่ระบุสัญชาติ เช่น .com .org .net ซึ่งส่วนนี้สามารถบ่งบอกประเภทหน่วยงานของเว็บนั้นๆได้ด้วย เช่น org คือหน่วยงานไม่หวังผลกำไร .com มักจะเป็นหน่วยธุรกิจ
ตัวอย่าง Domain แสดงประเภทองค์กร
.edu (Education) เครือข่ายองค์กรเพื่อการศึกษา
.gov (Government) เครือข่ายองค์กรรัฐบาล
.net (Network) เครือข่ายองค์กรผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ต(ISP)
.biz (Business) เครือข่ายธุรกิจ
.info (Information) กลุ่มผู้ให้บริการด้านข้อมูลข่าวสาร
2.) Coutry Code Top Level Domain (ccTLD) คือ Domain Name ประจำสัญชาติ เช่น .th ของไทย .jp ของญี่ปุ่น .uk ของประเทศอังกฤษ .au ของประเทศออสเตรเลียเป็นต้น ในปัจจุบัน Domain Name จะประจำสัญชาติอยู่ราวๆ 240 ประเทศ โดยแต่ละประเทศมีสิทธิพิจารณาแบ่ง Domain Name ประจำชาติของตนออกเป็นประเภทย่อยๆ อีกหรือไม่ก็ได้ การแบ่งย่อยๆนี้ เรียก Level Domains และสามารถกำหนดเกณฑ์ในการจดทะเบียนชื่อโดเมนของชาติตนเองได้อีกด้วย เช่นอาจจำกัดสิทธิให้เฉพาะหน่วยงานบางหน่วยงาน
ในกรณีประเทศไทยได้แบ่งชื่อ Domain ออกเป็น 7 ประเภทย่อย
.co.th สำหรับหน่วยธุรกิจ
.ac.th สำหรับสถาบันการศึกษา
.go.th สำหรับหน่วยงานราชการ
.in.th สำหรับบุลคคลทั่วไปและอื่นๆ
.or.th สำหรับองค์กรไม่หวังผลกำไร
.net.th สำหรับหน่วยงานให้บริการท่างเครือข่าย
.mi.th สำหรับหน่วยงานทหาร
0 comments:
Post a Comment